ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 4 กันยายน 2553 หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย รัชดาภิเษก



จาก: korapin naksuprangsi <kay_prosperity@yahoo.com>
วันที่: 30 สิงหาคม 2553, 13:59
หัวเรื่อง: แจ้งข่าวกิจกรรมดีๆศิลปะเพื่อผู้ป่วย เติมใจด้วยใจ
ถึง:


ศิลปะเพื่อผู้ป่วย เติมใจด้วยใจ


แม้สังคมปัจจุบันเทคโนโลยีความรู้ต่างๆ ทางการแพทย์ก้าวหน้าอย่างมาก ชะลอความแก่ รักษาความเจ็บไข้ได้ป่วย และช่วยให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ในที่สุดมนุษย์ก็หนีไม่พ้นภาวะเกิดแก่เจ็บตายอันเป็นธรรมดา

จะอยู่ให้ดี เป็นผู้ป่วยที่มีความสุข เป็นคนอายุยืนที่มีคุณภาพชีวิต แข็งแรง สมองดี จิตใจเบิกบานและเมื่อถึงเวลาจะนับถอยหลังสู่วันสุดท้ายของชีวิตให้ดีได้อย่างไร?

มีคนจำนวนมากไม่รู้จะทำอย่างไรเมื่อพ่อแม่ญาติอันเป็นที่รักกำลังค่อยๆ อ่อนแรงหรือกำลังเข้าสู่นาทีสุดท้าย จะทำอย่างไรเพื่อให้เป็นการจากพรากที่สงบไม่ติดข้องติดค้าง

ทำอย่างไรให้เกิดความเข้าใจต่อชีวิตไม่ว่าในยามปกติ เมื่อเจ็บป่วย หรือเมื่อรู้ตัวว่าจะตาย?

วันที่ 4 กันยายน 2553 นี้ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, รายการใจเติมใจ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย, เครือข่ายพุทธิกา และกลุ่มชีวิตสิกขา จัดกิจกรรมเพื่อผู้ป่วยและรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม การปักและวาดภาพลงบนถุงผ้าที่ทำจากจีวรพระ เพื่อบรรจุหนังสือสวดมนต์และหนังสือความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมมอบให้แก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาล

ถือเป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะที่มีคุณค่าทั้งแก่ตัวผู้สร้างงานและผู้ป่วย

โครงการปักและวาดลวดลายลงบนถุงผ้าที่ทำจากจีวรพระบรรจุหนังสือสวดมนต์และความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เป็นหนึ่งในโครงการดีๆ ของกลุ่มชายผ้าเหลืองข้างเตียงซึ่งดำเนินกิจกรรมโดย คุณธนวัชร์ เกตน์วิมุต (ครูดล) จากชีวิตสิกขา : เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจชีวิต

กิจกรรมของกลุ่มชายผ้าเหลืองข้างเตียง มีหลากหลายรูปแบบ เช่น การเย็บถุงผ้าจากจีวรพระและรับอาสาสมัครช่วยกันออกแบบและปัก เย็บ ปะ ติด วาดถุงผ้า เพื่อแบ่งปันความปรารถนาดีส่งมอบให้แก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาลเป้าหมายซึ่งทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ

อีกตัวอย่างหนึ่งคือการทำเศษวัสดุประดิษฐ์หุ่นมือเพื่อนำไปใช้เล่นละครสร้างสรรค์ในโรงพยาบาลโดยเน้นสร้างความสุขแก่ผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาล เป็นต้น




ชีวิตสิกขา ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของพระนิสิตและนิสิตปริญญาโท คณะมนุษยศาสตร์ ภาคจิตวิทยา สาขาวิชาชีวิตและความตาย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รุ่นแรกของประเทศ ที่ผ่านการฝึกงานลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือมิติทางด้านจิตวิญญาณแก่ผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย ตลอดจนญาติผู้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักในครอบครัว ไป ร่วมกับบุคลากรด้านต่างๆ ผู้สนใจค้นหาความหมายและคุณค่าของชีวิตในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ทำกิจกรรมเพื่อสังคมแบบให้เปล่าในรูปแบบต่างๆ ที่น่าชื่นชม

รวมทั้งกิจกรรมกลุ่มงานพิธีศพ ออกแบบได้ เพื่อปรับทัศนคติและสร้างจิตสำนึกในการเตรียมพิธีศพให้ตัวเองออกจากกรอบรูปแบบพิธีกรรมเดิมๆ เจริญมรณนุสติต่อตัวเองและผู้อื่น ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมีคุณค่าและไม่ประมาท

จาวรี ทองดีเลิศ พิธีกรภาคสนามของรายการใจเติมใจ ถ่ายทอดประสบการณ์ จากการร่วมกิจกรรมปักถุงผ้ากับอาสาสมัครเมื่อครั้งไปถ่ายทำบันทึกรายการและตามไปสังเกตการณ์เมื่อครูดลและเพื่อนๆ ไปมอบ ถุงผ้าของกลุ่มให้แก่ผู้ป่วยว่า รู้สึกประทับใจและอาสาสมัครเองก็มีความสุขจากการเข้าร่วมกิจกรรม

นิรมล เมธีสุวกุล
พิธีกรและผู้ควบคุมการผลิตรายการใจเติมใจ กล่าวว่า กิจกรรมของกลุ่มชายผ้าเหลืองข้างเตียงน่าชื่นชม เป็นกิจกรรมเล็กๆ ที่งดงาม คนเข้าร่วมหรือนำกิจกรรมนี้ไปประยุกต์สร้างสรรค์ให้ขยายออกไปได้ง่ายและส่งผลดีทั้งต่อผู้กิจกรรมและ ผู้ป่วยที่ได้รับถุงผ้าลายพระพุทธรูป ลายปักเป็นตัวหนังสือว่า ศีล สมาธิ ปัญญา หรือลวดลายที่ทำให้เกิดกำลังใจ ประกอบกับ ถุงผ้าทำมาจากจีวรพระ ทำให้ถุงผ้ากลายเป็น สิ่งน้อมนำจิตใจของผู้ป่วยและเกิดความรู้สึกดีๆ ขึ้นได้

"ที่สำคัญคือ การปักผ้าเป็นการทำด้วยความตั้งใจมั่น ละเอียดอ่อน และจิตใจสงบ และมีความสุขระหว่างการสร้างงานดีๆ ให้กับคนอื่น" ระหว่างการทำกิจกรรมมีการพูดคุยทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้คิดและทบทวนชีวิต คนเราต้องป่วยสักวัน ถ้ารู้จักคิด ก็จะป่วยอย่างเข้าใจตนเอง หรือถ้ามีญาติป่วยก็จะปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างเข้าใจและเหมาะสมด้วย




วริศรา สุทธิจิตร พิธีกรภาคสนามอีกคนหนึ่งของรายการใจเติมใจ กล่าวว่า กิจกรรมที่จะจัดขึ้นในวันที่ 4 กันยายนนี้ มีเครือข่ายพุทธิกาเป็นเจ้าภาพร่วมด้วย รายการใจเติมใจเคยบันทึกเรื่องราว การอบรมอาสาสมัครเพื่อเรียนรู้ฝึกฝนทักษะการช่วยเหลือฟื้นฟูจิตใจผู้ป่วยและครอบครัว ซึ่งนอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระของบุคลากรในโรงพยาบาลแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เรียนรู้การทำบุญรูปแบบใหม่ด้วยการบำเพ็ญ ประโยชน์ เพื่อผู้อื่นและสังคม ที่เคยถ่ายทำออกอากาศไปแล้วคือ โครงการอาสาข้างเตียงมีการเสริมทักษะในเรื่องของการฟังอย่างลึกซึ้ง การเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของคนไข้ มีการทดลองปฏิบัติงานด้วยการใช้ บทบาทสมมติ และการเข้าเยี่ยมผู้ป่วยที่โรงพยาบาล อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจของเครือข่ายพุทธิกาคือโครงการเผชิญความตายอย่างสงบ โดยจะมีตัวแทนจากเครือข่ายพุทธิกามาให้ความคิดและความรู้ด้วย

ปัจจุบันมี พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 รองรับแนวคิดการเผชิญความตายอย่างสงบงามและสมปรารถนา ในมาตรา 12 ว่าบุคคลมีสิทธิ์ทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

คำว่า palliative care หรือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง หรือการดูแลแบบองค์รวมทั้งร่างกายและจิตใจเป็นเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจเช่นกัน ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อพบว่าเป็นโรคเรื้อรังหรือโรครักษาหายได้ยาก หรืออาจจะไม่หาย

กำลังใจ ความรู้ การดูแลกายจิตวิญญาณเป็นเรื่องสำคัญ

ดูเหมือนการดูแลจิตใจจะสำคัญกว่าการดูแลทางกายด้วยซ้ำ ปัจจุบันบุคลากรสาธารณสุขกำลังให้ความสนใจเรื่องนี้เป็นอย่างมากขึ้นเรื่อยๆ ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ มีกลุ่มชีวันตาภิบาลดูแลผู้ป่วยแบบนี้มานาน และมีประสบการณ์เป็นอย่างมาก

ผู้สนใจเรื่องราวดังกล่าวสามารถไปร่วมกิจกรรมได้ ในวันที่ 4 กันยายน 2553

ที่หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ย่านรัชดาภิเษก ตามกำหนดการนี้

10.00-12.00 น. กิจกรรมชายผ้าเหลืองข้างเตียง ถุงผ้าจีวรปัก/เพนต์ เพื่อบรรจุหนังสือสวดมนต์ มอบให้ผู้ป่วยเพื่อจิตแจ่มใส ใจเบิกบาน

12.00-13.00 น. พักเที่ยง และชมนิทรรศการศิลปะบนถุงผ้าฝีมืออาสาสมัครใจเติมใจ

13.00-15.00 น. เวทีเติมหัวใจให้สังคม แม้ป่วยไข้แต่ใจเบิกบาน (การดูแลผู้ป่วยแบบ PalliativeCare)

- คุณธนวัชร์ เกตน์วิมุต (ครูดล) จากชีวิตสิกขา : เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจชีวิต โครงการชายผ้าเหลืองข้างเตียง+กลุ่มงานศพ ออกแบบได้

- พระมหาอาวรณ์ ภูริปัญโญ จากวัดปันเสา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ : พระ Standby 24 ชั่วโมง เพื่อผู้ป่วยหนักนาทีสุดท้าย

- น.พ.สกล สิงหะ ประธานหน่วยชีวันตาภิบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สนับสนุนงานด้าน Palliative Care ให้กับหน่วยงานต่างๆ ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์

- คุณวรรณา จารุสมบูรณ์ เครือข่ายพุทธิกา ประเด็น "การเผชิญความตายอย่างสงบ"

- ดำเนินรายการโดย คุณนิรมล เมธีสุวกุล

15.15-17.30 น. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (ฉบับลัดสั้น) วิทยากรจากเครือข่ายพุทธิกา

กิจกรรมศิลปะบนถุงผ้าจีวรพระและเวทีเสวนาเติมหัวใจให้สังคมที่จัดขึ้นนี้ อยู่ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ "เมืองไทยหัวใจมนุษย์"

ผู้อยากทราบเรื่องราวดีๆ ที่มีอยู่ทั่วประเทศไทยสามารถคลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ deedee.in.th และติดตามรายการใจเติมใจ ทางทีวีไทยทีวีสาธารณะ ทุกวันศุกร์ เวลา 08.30-09.00 น.

ที่มา ข่าวสดออนไลน์





--
ดล
ธนวัชร์ เกตน์วิมุต

ชีวิตสิกขา : เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจชีวิต
www.jivit.net
159/70 ซ.วิภาวดีรังสิต 62 ถ.วิภาวดีรังสิต
หลักสี่ กทม. 10210
โทรศัพท์ 089-678-1669, 089-899-0094
แฟกซ์ 02-900-5429



วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน 2553 เวลา 13.30 - 16.30น. ณ สตูดิโอ 2 บริษัทวอยซ์ทีวี ถ.วิภาวดีรังสิต

  วอยซ์ ทีวี จัดกิจกรรม VOICE FORUM ครั้งที่3 หัวข้อ 'บทบาทสื่อออนไลน์ สงครามและสันติภาพบนปลายนิ้ว' โดย คุณเก๋ ธีรัตถ์ รัตนเสวี และ ได้รับเกียรติจาก 4 ตัวจริง ผู้บริหาร และคนข่าวในโลกสื่อออนไลน์ ได้แก่ คุณวันฉัตร ผดุงรัตน์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ pantip.com , คุณชูวัส ฤกษ์สิริสุข บรรณาธิการบริหาร เว็บไซต์ ประชาไท , คุณนภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ ผู้สื่อข่าว Nation Channel และ คุณเย็นจิตร์ สถิรมงคลสุข บรรณาธิการข่าว เว็บไซต์ มติชนออนไลน์ ร่วมท่องโลกออนไลน์ไปกับ 4 คนตัวจริง ที่จะมาวิเคราะห์ถึงภัยของสังคม Social Network ในปัจจุบัน ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น รวมถึงบทบาทการทำงานของสื่อออนไลน์ในอนาคต
          นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ชม ประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถเข้าร่วมฟังและแชร์ความคิดเห็น ในหัวข้อ 'บทบาทสื่อออนไลน์ สงครามและสันติภาพบนปลายนิ้ว' งานนี้จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 4 กันยายน 2553 เวลา 13.30 - 16.30น. ณ สตูดิโอ 2 บริษัทวอยซ์ทีวี ถ.วิภาวดีรังสิต โดยผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.voicetv.co.th หรือลงทะเบียนกันได้ที่ http://events.voicetv.co.th/recruit/account/login ขอบอกนะค่ะว่ารับจำนวนจำกัด รีบๆมาสมัครกันด่วน!!! (ฟรี!!ไม่มีค่าใช้จ่ายนะคร๊า)
 
          ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด 
          รัศมี พัดเปรม (ปลาบู่) 081-643-4227 pla_boo@hotmail.com , BB PIN 212690DF
          ชรินทร์ทิพย์ ทับทิมแดง (จ๊อย) 086-628-3032 bj_crazyyyyy@hotmail.com
          ประกายดาว ศิริพรรณาภิรัตน์ (ส้ม) 081-252-5222 som_sw@hotmail.com



--
http://www.classifiedthai.com/event_view.php
http://www.etcommission.go.th/

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม 2553 เวลา 10.30 -12.00 น. และ 14.00 - 15.30 น. ณ ห้อง 113 ชั้น 1 ไลฟ์ เซ็นเตอร์ อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี ถนนสาทรใต้

ถ้าคุณหรือคนที่คุณรักกำลังประสบปัญหากับสารพัดโรคปวดยอดฮิตทั้งหลายอย่าง ไมเกรน ปวดคอ ปวดหลัง ปวดเข่าเรื้อรัง ฯลฯ ไลฟ์ เซ็นเตอร์ ไลฟ์สไตล์มอลล์ เพื่อสุขภาพและความงาม ขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมฟังการสัมมนาฟรี
          ในห้วข้อ “สัญญาณเตือนภัย เข้าข่ายโรคฮิตของคนศตวรรษ 2010” อาการเตือนแบบไหน ที่เข้าข่ายเป็นไมเกรน โรคยอดฮิตของคนยุคนี้ พร้อมเวิร์คช็อปที่นำกลับไปปฏิบัติดูแลตนเองได้จริง โดยแพทย์อายุรเวช วิภาพร สายศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และคุณนพดล ไชยเชื้อ จาก ดอกเตอร์ แคร์ คลินิก ศูนย์รักษาไมเกรนแห่งแรกในประเทศไทย และหัวข้อ “ปวดหลังเรื้อรัง รักษาไม่หาย ตอบโจทย์ได้ด้วยเทคโนโลยีแบบยุคดิจิตอล” โดยผ.ศ. นายแพทย์ ภาริส วงศ์แพทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู จาก ดีบีซี สไปน์คลินิกแอนด์ยิม ในวันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม 2553 เวลา 10.30 -12.00 น. และ 14.00 – 15.30 น. ตามลำดับ ณ ห้อง 113 ชั้น 1 ไลฟ์ เซ็นเตอร์ อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี ถนนสาทรใต้
          สอบถามรายละเอียดหัวข้อสัมมนา และสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่โทร 0-2677-7177 หรือ 08-9228-8772 เข้าไปดูรายละเอียดที่ www.lifecenterthailand.com

 

 

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม 2553 เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป ณ โรงแรม S31 ซ. สุขุมวิท 31

บริษัท แอ๊ดวานซ์ เอ็ด จำกัด ผู้ได้รับลิขสิทธิ์หลักสูตร “ Fast Forword” โปรแกรมพัฒนาสมองด้วยสื่อภาษาอังกฤษ ที่ผ่านการวิจัยทางด้าน Neuroscience ในอเมริกามากกว่า 30 ปี จัดแถลงงานสัมนาพิเศษในหัวข้อ “ The Brain science of Language, Reading and Learning” โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขการพูดเพื่อการพัฒนาสมองระดับโลกอย่าง ดร. มาธาร์ เบิร์นส ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาระดับโลก นักอรรถบำบัดเจ้าของหนังสือขายดีอับดับหนึ่งในด้าน Health Science,1997 ร่วมด้วย คุณ ชาล์ล ไช ผู้เชี่ยวชาญด้าน กุมารเวชศาสน์ จาก สถาบัน Brain fit Australia ผู้เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์จิตวิทยาเด็กกว่า 15 ปี มาร่วมการบรรยายเพื่อสร้างความเข้าใจถึงระบบในการพัฒนาสมองเด็กด้วยสื่อภาษาอังกฤษอย่างเป็นธรรมชาติ ที่จะกลายเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมในการพัฒนาสมองเด็กและระบบการศึกษาไทย ในวันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม 2553 เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป ณ โรงแรม S31 ซ. สุขุมวิท 31

 

 

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม 2553เ วลา 13.00-17.00 น. ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาคารวิทยบริการ ชั้น 8 ห้อง 804

เรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมสัมมนา" เกาะติดสถานการณ์หุ้นไทยไปกับ CIMB&E-finance"ในวันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม 2553เ วลา 13.00-17.00 น. ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาคารวิทยบริการ ชั้น 8 ห้อง 804
 
กำหนดการ
 
13.00 – 13.30น.           ลงทะเบียน

13.30– 14.00น.           กล่าวเปิดสัมมนาและแนะนำบริษัทฯ 
                                        คุณกิตติศักดิ์ อมรชัยโรจน์กุล Head of Retail Equities

14.00- 15.30น.           เพิ่มเทคนิคซื้อขายให้เหมาะกับแต่ละสไตล์การลงทุนด้วยefinancethai 
                                        โดยคุณวชิรเมษฐ์ ธเนศสถิตพงศ์
                                        ผู้จัดการแผนกการตลาด ( E-Finance Thai )

15.30 – 15.45น.           รับประทานอาหารว่าง

15.45 – 16.45น.           วิเคราะห์สถานการณ์ตลาดหุ้น
                                        คุณเกษม พันธ์รัตนมาลา Head of Research

16.45 - 17.00 น.           ตอบคำถาม

          ( สัมมนาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย )
          สำรองที่นั่งได้ที่ www.cimbsecurities.co.th
          E-mail : Sasima.tr@cimb.com, Nongnuch.ou@cimb.com 
          โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02- 261-7373 ต่อ 2506 , 2507

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

วันเสาร์ ที่ 28 สิงหาคม 2553 เวลา 09.00 - 13.30 น. ณ ห้องนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา

“ผืนดินไม่ได้มีไว้ขาย” น้ำของเราไม่ได้มีไว้ขาย”
“เมล็ดพันธุ์และความหลากหลายทางชีวภาพไม่ได้มีไว้ขาย”
...แต่โลกาภิวัตน์ของบรรษัทกลับมองว่า โลกธรรมชาติเป็นสิ่งที่ครอบครองได้
และตลาดสามารถขับเคลื่อนได้ด้วย “กำไร” เท่านั้น!!
เพื่อต่อกรและตอบโต้การแปรรูปภายใต้ความคิดวิปลาสนี้ จึงนำมาซึ่งการก่อเกิด “ประชาธิปไตยผืนดิน”
...
School for Wellbeing Studies and Research, สถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ และบริษัทสวนเงินมีมา จำกัด ขอเชิญร่วมงาน ปาฐกถาพิเศษ และเวทีเสวนา (แปลไทย-อังกฤษ) นำเสนอชุดการบรรยาย

“โลกของเราไม่ได้มีไว้ขาย”

เวทีที่หนึ่ง
วันเสาร์ ที่ 28 สิงหาคม 2553 เวลา 09.00 – 13.30 น.
ณ ห้องนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา

ปาฐกถา พิเศษ "ประชาธิปไตยผืนดิน: ความยุติธรรม ความยั่งยืน และสันติภาพ" บรรยายโดย วันทนา ศิวะ เจ้าของรางวัลสัมมาอาชีพ นักเคลื่อนไหวด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และความเป็นธรรมทางนิเวศ

เวทีที่สอง
วันเสาร์ ที่ 4 กันยายน 2553 เวลา 13.00 – 16.30 น. คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ปาฐกถาพิเศษ "เศรษฐศาสตร์แห่งความสุข: ชัยชนะเหนืออวิชชา"
บรรยายโดย เฮเลน่า นอเบิร์ก-ฮอดจ์ เจ้าของรางวัลสัมมาอาชีพ ผู้เขียน อนาคตอันเก่าแก่ และ นำอาหารกลับบ้าน



และร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน เวทีอภิปรายจากตัวแทนจากภาครัฐ และภาคประชาชน หัวข้อ “สันติสุขแห่งสังคม: ความยุติธรรม ความยั่งยืน และการปฏิรูปที่ดิน” พร้อมชมนิทรรศการ “วิถีสีเขียว: วิถีของความเป็นธรรมและความยั่งยืน”
จากกลุ่มเครือข่ายตลาดสีเขียว

ไม่เสียค่าใช้จ่าย!!! สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ: โทร. 02-622-2495-6 (พัชรี, วรนุช) อีเมล patcharee@schoolforwellbeing.org.
เว็บไซต์ www.thaiwellbeing.org และ www.schoolforwellbeing.org

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ - วันเสาร์ที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ร่างกำหนดการสัมมนาทางวิชาการมุสลิมศึกษา ประจำปี ๒๕๕๓

"

มุสลิมในแผ่นดินไทย : บทบาทชาวไทยมุสลิมในการสร้างสรรค์สังคมไทย"

จัดโดย

ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ร่วมกับ

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

สนับสนุนโดย

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

มูลนิธิร็อกกี้ เฟลเลอร์

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน

วันพุธที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ - วันเสาร์ที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓

ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

********************************************

๑) ภาคการสัมมนา

วันพุธที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓

สถานที่ : หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๐๗.๓๐ - ๐๘.๓๐ ลงทะเบียน

๐๙.๐๕ - ๐๙.๑๐

ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสูจิบัตร

โดย

รองศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์

ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน

โดย

คุณ ชูกรี บัลบา

ผู้ได้รับรางวัลประกวดการอ่านพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านระดับนานาชาติ

๐๙.๑๐- ๐๙.๑๕

กล่าวถวายรายงาน และกราบบังคมทูลเชิญเปิดการสัมมนา

โดย

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล

อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๐๙.๑๕

- ๐๙.๒๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำรัสเปิดการสัมมนา

๐๙.๒๐ - ๐๙.๓๐

การแสดงดนตรีพื้นบ้านรางวัลอาเซียนวง "เด็นดงอัสลี" นำวงโดยศิลปินแห่งชาติโดยนายแวกาเดร์ (ขาเดร์) แวเด็ง

ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๖ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) อ.ยะหริ่ง จังหวัด

ปัตตานี

กล่าวแนะนำ

โดย

รองศาสตราจารย์ ดร. วินัย ดะห์ลัน

ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๐๙.๓๐ - ๐๙.

๓๕ วีดีทัศน์แนะนำวัฒนธรรมขนมหวานมุสลิม

๐๙.๓๕ - ๐๙.๕๐

........................................................พักรับประทานอาหารว่าง .........................................................

๐๙.๕๐ - ๑๐.๓๐

ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "พระราชกรณียกิจกับมุสลิมในแผ่นดินไทย"

๑๐.๓๐ - ๑๑.๔๐ เสวนา

"มุสลิมกับโครงการพระราชดำริ" *

๑๑.๔๐ - ๑๑.๔๕

วีดีทัศน์แนะนำวัฒนธรรมอาหารมุสลิม

๑๑.๔๕

- ๑๓.๐๐ .......................................พักรับประทานอาหารกลางวันและละหมาด…..………………….....……

๑๓.๐๐- ๑๔.๔๕ เสวนา

"เปิดมิติและมุมมองมุสลิมในแผ่นดินไทย: อดีตปัจจุบันและอนาคต"

โดย

- คุณนาถยา แดงบุหงา

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตกรุงเทพมหานคร

- คุณไพศาล พรหมยงค์

กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

- คุณอดุลย์ มานะจิตต์

เลขาธิการสมาคมวัฒนธรรมเศรษฐกิจไทย - อิหร่าน

-

คุณบรรจง บินกาซัน

ประธานโครงการอบรมผู้สนใจอิสลาม มูลนิธิสันติชน

ดำเนินรายการ โดย

คุณสมาน งามโขนง

ผู้อำนวยการผลิตรายการมุสลิมไทม์และผู้ดำเนินรายการมองรัฐสภา

๑๔.๔๕ - ๑๕.๐๐ ...........................................................พักรับประทานอาหารว่าง.......................................................

* หมายเหตุ: ร่างกำหนดการในวันพุธที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ อาจมีการเปลี่ยนแปลง

๑๕.๐๐ - ๑๖.๐๐ อภิปรายนำ

"ประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของมุสลิมไทย: มองผ่านสายตระกูล"

โดย

-ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ปิยนาถ บุนนาค

ข้าราชการบำนาญ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-อาจารย์ สันติ เสือสมิง

อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัจลิซุดดีนี สวนหลวง

๑๖.๐๐ - ๑๖.๔๕ -นำเสนอผลงาน เรื่อง "

จุฬาราชมนตรีท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย"

โดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พลับพลึง คงชนะ

อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

-ร่วมแสดงความคิดเห็น

โดย

อาจารย์วินัย สะมะอุน

อิหม่ามมัสยิดกมาลุลอิสลาม

๑๖.๔๕ - ๑๗.๐๐ เปิดเวทีแสดงความคิดเห็น

๑๗.๐๐ จบรายการ

- ดำเนินรายการภาคเช้า โดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ

คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- ดำเนินรายการภาคบ่าย โดย

ดร. ศราวุฒิ อารีย์

รองผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

* หมายเหตุ: ร่างกำหนดการและเวลาในวันพุธที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ อาจมีการเปลี่ยนแปลง

พฤหัสบดีที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓

สถานที่ : หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๐๘.๓๐ - ๐๙.๐๐ ลงทะเบียน

๐๙.๐๐ - ๐๙.๑๐ กล่าวแสดงความยินดี

โดย

อาจารย์ อาศิส พิทักษ์คุมพล

จุฬาราชมนตรี

๐๙.๑๐ - ๐๙.๕๕ ปาฐกถาพิเศษ "

มุสลิมกับการอยู่ร่วมกันในสังคมโลก"

โดย

อาจารย์ วันมูหะมัดนอร์ มะทา

อดีตประธานรัฐสภา

๐๙.๕๕ - ๑๐.๑๐ ..........................................................พักรับประทานอาหารว่าง..........................................................

๑๐.๑๐- ๑๐.๕๐ อภิปรายนำ

"ความเปลี่ยนแปลงของสังคมมุสลิมโลกในอนาคต"

โดย

คุณดำรง พุฒตาล

อดีตสมาชิกวุฒิสภา

๑๐.๕๐ - ๑๒.๐๐ เสวนา

"การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมมุสลิมไทย"

โดย -

รองศาสตราจารย์ ดร.พัชราวลัย วงศ์บุญสิน

ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนามนุษย์และการย้ายถิ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- ดร. วัลลภ สุวรรณดี *

ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

-รองศาสตราจารย์ พิเชฏฐ์ กาลามเกษตร์

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ดำเนินรายการ โดย

อาจารย์ สุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์

นักวิจัยประจำสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ ................................พักรับประทานอาหารกลางวันและละหมาด…………………………………..

๑๓.๐๐- ๑๓.๔๐ อภิปรายนำ

"อารยธรรมมุสลิมมลายูในคาบสมุทรไทย"

โดย

รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม

ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และอดีตอาจารย์คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

๑๓.๔๐ - ๑๓.๕๕ ........................................................พักรับประทานอาหารว่าง .........................................................

๑๓.๕๕ - ๑๕.๕๕

-นำเสนอผลงาน "

มุสลิมชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย"

โดย

- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรวิทย์ บารู

สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปัตตานี

-

อาจารย์ ดร. จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ดร. สุชาติ เศรษฐมาลินี

สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ

-

อาจารย์ชัยณรงค์ ศรีพงษ์

วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

-ร่วมแสดงความคิดเห็น

โดย

รองศาสตราจารย์ ดร. จรัญ มะลูลีม

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๑๕.๕๕- ๑๗.๐๐ เสวนา

"วิถีชีวิตชุมชนมุสลิมรอบรั้วจุฬาฯและในกรุงเทพมหานคร"

โดย - ผู้แทนชุมชนมุสลิมบางรัก (มัสยิดฮารูน)

-

คุณ เรืองศักดิ์ ดำริห์เลิศ

อดีตประธานชุมชนมุสลิมบ้านครัว

-

คุณ ศุภชัย บุหงาแดง

ประธานชุมชนมุสลิมเพชรบุรี

ดำเนินรายการ โดย

คุณอรรถศักดิ์ มินโด

คอเต็บมัสยิดยามีลู้ลอีบาดะห์ (ลาดบัวขาว)

๑๗.๐๐ จบรายการ

-ดำเนินรายการภาคเช้า โดย

อาจารย์สุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์

นักวิจัยประจำสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-ดำเนินรายการภาคบ่าย โดย

คุณอรรถศักดิ์ มินโด

คอเต็บมัสยิดยามีลู้ลอีบาดะห์ (ลาดบัวขาว)

วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓

สถานที่ : ห้องประชุมสารนิเทศ ชั้น 2 หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๓.๐๐ - ๑๓.๔๕ อภิปรายนำ

"พิธีฮัจญ์: จากอดีตถึงปัจจุบัน"

โดย

ศาสตราจารย์ ดร. อิมรอน มะลูลีม

รองประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

๑๓.๔๕- ๑๔.๓๐ อภิปรายนำ

"ศาสนาและวัฒนธรรมสัมพันธ์"

โดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อณัส อมาตยกุล

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

๑๔.๓๐ - ๑๔.๔๕ ........................................................พักรับประทานอาหารว่าง .........................................................

๑๔.๔๕ - ๑๖.๔๕

- นำเสนอผลงาน "

มัสยิดในแผ่นดินไทย"

โดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี

มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

- นำเสนอผลงาน

"มุสลิมกับตำรับอาหารไทย"

โดย

รองศาสตราจารย์ สุกัญญา สุจฉายา

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- นำเสนอผลงาน

"อัตลักษณ์ทางภาษาของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้"

โดย

อาจารย์ ดร. นูรีดา หะยียะโกะ

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- ร่วมแสดงความคิดเห็น

โดย

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กุสุมา รักษมณี

อดีตอาจารย์คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

๑๖.๔๕ - ๑๗.๐๐ เปิดเวทีแสดงความคิดเห็น

๑๗.๐๐ จบรายการ

ดำเนินรายการโดย

อาจารย์ พรรณพิมล นาคนาวา

ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันศุกร์ที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓

วันศุกร์ที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓

๐๘.๓๐ – ลงทะเบียน
๐๙.๐๐– ๐๙.๑๕ วีดิทัศน์เรื่อง
"การส่งเสริมและพัฒนาอาหารมุสลิมฮาลาลไทยสู่สากล" โครงการร่วมกระทรวง
พาณิชย์- ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๐๙.๑๕– ๐๙.๔๐ การแสดงดนตรีพื้นบ้านรางวัลอาเซียนวง"เด็นดงอัสลี" นำวงโดยศิลปินแห่งชาติโดยนายแวกาเดร์ (ขาเดร์) แวเด็ง

ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๖ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) อ.ยะหริ่ง จังหวัด

ปัตตานี

๐๙.๔๐ – ๐๙.๕๐ รายงานและชี้แจงนำเรื่อง

"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้"

โดย

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล

อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๐๙.๕๐ – ๑๐.๑๐ เปิดงานและปาฐกถานำเรื่อง

"การประยุกต์วิทยาศาสตร์ฮาลาลเพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้"

โดย

ฯพณฯ นายอลงกรณ์ พลบุตร *

รั

ฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

๑๐.๑๐ – ๑๐๒๕.......................................................พักรับประทานอาหารว่าง.......................................................

๑๐.๒๕– ๑๑.๐๐ บรรยายพิเศษ

"ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับงานพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้"

โดย

รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน

ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๑.๐๐ – ๑๒.๓๐ สัมมนาทางวิชาการ

"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับบทบาทด้านวิทยาศาสตร์ในงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮาลาลพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้"

- งานพัฒนาฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสามจังหวัดภาคใต้

โดย

รองศาสตราจารย์ ดร. เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์

สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- การพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

โดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลและคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- การยกระดับคุณภาพร้านอาหารมุสลิมไทย-มลายูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

โดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บรรจง ไวทยะเมธา

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี

- สมุนไพรกับงานวิจัยด้านเภสัชอุตสาหกรรมในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต ้

โดย

รองศาสตราจารย์ ดร. เอกรินทร์ สายฟ้า

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดำเนินรายการโดย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วนิดา นพพรพันธุ์

คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๒.๓๐ – ๑๓๓๐........................................พักรับประทานอาหารกลางวันและละหมาด.........................................

๑๓.๓๐– ๑๔.๑๕ บรรยาย

"คุณค่าวัฒนธรรมเชิงโภชนาการของอาหารพื้นบ้านมุสลิมมลายูไทย"

โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วินัย ดะห์ลัน

ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๔.๑๕ – ๑๕.๔๕ เสวนา"

ชุมชนศรัทธา (กำปงตักวา) กับงานพัฒนาวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อมุสลิมในพื้นที่

จังหวัดชายแดนภาคใต้"

โดย

- คุณเสรี ศรีหะไตร

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา

- อาจารย์ ไพศาล ดะห์ลัน

ประธานเครือข่ายชุมชนศรัทธา (กำปงตักวา)

- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิซาอูดะห์ ระเด่นอาหมัด

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร 

- อาจารย์ ซอและห์ ตอลิบ

คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

- นายแพทย์อนันตชัย ไทยประทาน

โรงพยาบาลศูนย์ยะลา กระทรวงสาธารณสุข

- คุณซุลกิฟลี หะยีเยะ

นายกสมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข

ดำเนินรายการโดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บรรจง ไวทยะเมธา

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี

๑๕.๔๕ – ๑๖๐๐.......................................................พักรับประทานอาหารว่าง.......................................................

๑๖๐๐– ๑๘๐๐กิจกรรมการสาธิต

"รู้จักรู้ปรุงรู้รสรู้คุณค่าอาหารมลายูไทยที่ใกล้สาบสูญ" ณ เวทีนิทรรศการ

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ลานจามจุรี หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- กุ๊กระดับรางวัลจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมให้คุณค่าโภชนาการ

โดย

อาจารย์ ดร.สุวิมล ทรัพย์วโรบล

คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

* หมายเหตุ : ร่างกำหนดการในวันศุกร์ที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ อาจมีการเปลี่ยนแปลง

Saturday 2nd October 2010

At Mahachulalongkorn Building, Chulalongkorn University

08.30 - 09.00 Register

09.00 - 09.45 Special Lecture

"Thailand and Muslim World : A Strategic Partnership" *

By

H.E. Abhisit Vejjajiva *

Prime Minister of Thailand

09.45 - 10.00 .................................................................Coffee break .....................................................................

10.00 - 10.40

"Thailand's Economic Relations with the Muslim World"

By

Prof. Dr. Ammar Siamwalla *

Distinguished Scholar of the Thailand Development Research Institute (TDRI)

10.40 - 11.20

"State and Muslim Society in Thailand : Present & Future"

By

Prof. Dr. Chaiwat Satha-Anand

Director of the Thai Peace Information Centre, Faculty of political Science, Thammasat

University

11.20 - 12.00

"Halal Science & Technology : Thailand 's Gift to Muslim World "

By

Assoc. Prof. Dr. Winai Dahlan

Director, the Halal Science Center, Chulalongkorn University

12.00 - 12.15 Moderator and Concluding Remarks

By

Ajarn Major Dr. Ra-Shane Meesri

Deputy Director, Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University

๑๐

๒) ภาคนิทรรศการ

วันพุธที่ ๒๙ กันยายน - วันเสาร์ที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓

สถานที่ : พื้นที่ด้านข้างหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชุดที่ ๑ นิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์มุสลิม

-ประวัติศาสตร์มุสลิมในประเทศไทยและตระกูลมุสลิมต่างๆทมีี่บทบาทในสังคมไทย

-ชาติพันธุ์มุสลิม เช่น มลายู มักกะสัน เปอร์เซีย มะหง่น จาม อาหรับ ตุรกี จีน

ชุดที่ ๒ นิทรรศการเกี่ยวกับผลงานของมุสลิมในโครงการศิลปาชีพ

*

-

งานแสดงภายถ่ายงานศิลป์แห่งแผ่นดินที่เป็นฝีมือของมุสลิม

-

งานแสดงผลงานฝีมือด้านต่าง ๆ ของมุสลิมในโครงการศิลปาชีพ

ชุดที่ ๓ นิทรรศการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ฮาลาลกับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

- กิจกรรมการสาธิต:

"รู้จักรู้ปรุงรู้รสรู้คุณค่าอาหารมลายูไทยที่ใกล้สาบสูญ"

ชุดที่ ๔ นิทรรศการเกี่ยวกับโครงการวิจัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้-

โครงการวิจัยหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด *

- โครงการวิจัยเพื่อสุขภาพและสาธารณสุข ฯลฯ

๓) ภาคการออกร้านและซุ้ม

วันพุธที่ ๒๙ กันยายน - วันเสาร์ที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓

สถานที่ : พื้นที่ด้านข้างหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๐.๐๐ - ๑๗.๐๐

การออกร้านและซุ้มผลิตภัณฑ์และผลงานต่างๆ เกี่ยวกับมุสลิมในและนอกประเทศ

-

หน่วยงานภาคเอกชนต่าง ๆ

๑๑.๐๐-๑๗.๐๐

การออกร้านและซุ้มศิลปวัฒนธรรมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของมุสลิม

-ร้านอาหารและของหวานมุสลิมนานาชนิดในแต่ละภาคของประเทศไทย

๑๑

๔) ภาคกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมบนเวที

วันเสาร์ที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓

รอบที่ ๑

(ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

สถานที่ : หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กล่าวรายงาน โดย

รองศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์

ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๓.๑๕ - ๑๓.๓๐

กล่าวเปิดงาน โดย

นายถาวร เสนเนียม

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

๑๓.๓๐ - ๑๓.๓๕

การแสดง 'ออกแขก' ในปัจจุบัน๑๓.๓๕ - ๑๓.๔๐ พิธีกร กล่าวนำประวัติการออกแขกลิเก

๑๓.๔๐ - ๑๓.๔๕

การแสดง ย้อนรอยต้นกำเนิดการออกแขกลิเก

๑๓.๔๕ - ๑๓.๕๐ พิธีกร กล่าวนำประวัติการแสดงลิเกเลียบ

๑๓.๕๐ – ๑๔.๐๐

การแสดง 'ลิเกเลียบ(อูเละนบี'

๑๔.๐๐ - ๑๔.๐๕ พิธีกร กล่าวนำประวัติความเป็นมาของการขับร้อง 'นาชีร'

๑๔.๐๕- ๑๔.๒๐

การแสดง 'นาชีร'

๑๔.๒๐- ๑๔.๓๕

พักรับประทานอาหารว่าง

๑๔.๓๕ - ๑๔.๔๐ พิธีกร กล่าวนำประวัติความเป็นมาของ 'ดิเกรฮูลู'

๑๔.๔๐- ๑๔.๕๕

การแสดง 'ดิเกรฮูลู'
๑๔.๕๕- ๑๕.๐๐ พิธีกรกล่าวนำย้อนรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมุสลิมในกรุงเทพฯ
๑๕.๐๐- ๑๕.๐๕
วีดิทัศน์ 'ตามรอยการตั้งถิ่นฐานของมุสลิมในกรุงเทพฯ'

๑๕.๐๕ - ๑๕.๒๕

การแสดงชุด "ไหว้ครู" "รำเทียน" "กระบี่กระบอง" "รำกริช"

๑๕.๒๕ - ๑๕.๓๐ พิธีกร กล่าวนำประวัติการแสดง "ปันจักสีลัต"

๑๕๓๐- ๑๕๔๕

การแสดง 'ปันจักสีลัต'

๑๕.๔๕ - ๑๕.๕๐ พิธีกร กล่าวนำประวัติการแสดง "ลำตัด"

๑๕.๕๐- ๑๕.๕๕

วีดิทัศน์ "รู้จักหวังเต๊ะ"

๑๕.๕๕ - ๑๖.๓๐

การแสดง 'ลำตัดคณะหวังเต๊ะ'

พิธีกรกล่าวอำลาและจบการแสดงรอบที่ ๑

ดำเนินรายการภาคภาษาอังกฤษ โดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศรา กาติ๊บ

สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดำเนินรายการภาคภาษาไทย โดย

อาจารย์ ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๒

รอบที่ ๒

(ภาษาไทย)

๑๗.๐๐ - ๑๗.๐๕

การแสดง 'ออกแขก' ในปัจจุบัน๑๗.๐๕ - ๑๗.๑๐ พิธีกร กล่าวนำประวัติการออกแขกลิเก

๑๗.๑๐ - ๑๗.๑๕

การแสดง ย้อนรอยต้นกำเนิดการออกแขกลิเก

๑๗.๑๕ - ๑๗.๒๐ พิธีกรกล่าวนำประวัติการแสดงลิเกเลียบ

๑๗.๒๐ - ๑๗.๓๐

การแสดง 'ลิเกเลียบ(อูเละนบี'

๑๗.๓๐ - ๑๗.๓๕ พิธีกร กล่าวนำประวัติความเป็นมาของการขับร้อง 'นาชีร'

๑๗.๓๕ - ๑๗.๕๐

การแสดง 'นาชีร'

๑๗.๕๐ - ๑๘.๐๕

พักรับประทานอาหารว่าง

๑๘.๐๕ - ๑๘.๑๐

พิธีกร กล่าวนำประวัติความเป็นมาของ 'ดิเกรฮูลู'

๑๘.๑๐ - ๑๘.๒๕

การแสดง 'ดิเกรฮูลู'

๑๘.๒๕ - ๑๘.๓๐

พิธีกร กล่าวนำย้อนรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมุสลิมในกรุงเทพฯ

๑๘.๓๐ - ๑๘.๓๕

วีดิทัศน์ 'ตามรอยการตั้งถิ่นฐานของมุสลิมในกรุงเทพฯ'

๑๘.๓๕ - ๑๘.๕๕

การแสดงชุด "ไหว้ครู" "รำเทียน" "กระบี่กระบอง" "รำกริช"

๑๘.๕๕ - ๑๙.๐๐

พิธีกร กล่าวนำประวัติการแสดง "ปันจักสีลัต"

๑๙.๐๐ - ๑๙.๑๕

การแสดง 'ปันจักสีลัต'

๑๙.๑๕ - ๑๙.๒๐

พิธีกร กล่าวนำประวัติการแสดง "ลำตัด"

๑๙.๒๐ - ๑๙.๒๕

วีดิทัศน์ "รู้จักหวังเต๊ะ"

๑๙.๒๕ - ๒๐.๐๐

การแสดง 'ลำตัดคณะหวังเต๊ะ'

- จบการแสดงรอบที่ ๒

- กล่าวขอบคุณและกล่าวปิดงาน โดย

รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์

ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- ดำเนินรายการภาคภาษาไทย โดย

นางสาวขนิษฐา คันธะวิชัย

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

วันที่ ๒๙ กันยายนถึงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ เวลา ๐๘.๐๐- ๑๗.๓๐ น ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข้อเสนอโครงการสัมมนาทางวิชาการมุสลิมศึกษา ประจำปี ๒๕๕๓

“มุสลิมในแผ่นดินไทย บทบาทชาวไทยมุสลิมในการสร้างสรรค์สังคมไทย”

จัดโดย

ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ร่วมกับ

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

สนับสนุนโดย

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

มูลนิธิร็อกกี้ เฟลเลอร์

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และมูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน

วันพุธที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ - วันเสาร์ที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓

ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

***************************************************

หลักการและเหตุผล

ด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดการ

สัมมนาทางวิชาการมุสลิมศึกษา ประจำปี ๒๕๕๓ เรื่อง “มุสลิมในแผ่นดินไทย: บทบาทชาวไทยมุสลิมในการสร้างสรรค์สังคมไทย” ในวันพุธที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐ น ณหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งนี้การสัมมนาทางวิชาการมุสลิมศึกษาดังกล่าวได้ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิหลังบรรพบุรุษของผู้คนในแผ่นดินไทยที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และศาสนาซึ่งมีทั้งที่เป็นจีนมอญอาหรับเปอร์เซียและมลายูเป็นต้นนับถือศาสนาพุทธอิสลามและคริสต์กลุ่มชนเหล่านี้ได้มีบทบาทในแผ่นดินไทยอย่างกว้างขวางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและยังคงจะมีต่อไปในอนาคตด้วยดังนั้นการเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของกลุ่มชนเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญและควรทำการร้อยเรียงจัดระบบข้อมูลให้เกิดเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำมาสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันในส่วนของมุสลิมที่เป็นกลุ่มพลเมืองไทยที่นับถือศาสนาอิสลามและมีเชื้อสายมาจากหลากหลายชาติพันธุ์นั้นบางกลุ่มก็เป็นคนท้องถิ่นเดิมแต่บางกลุ่มก็เข้ามาและตั้งถิ่นฐานอยู่ในภูมิภาคต่างๆของแผ่นดินไทยมาเนิ่นนานมุสลิมหลากหลายชาติพันธุ์เหล่านี้ต่างดำเนินชีวิตมีบทบาทและทำคุณประโยชน์ให้กับแผ่นดินไทยในรูปแบบต่างๆทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองและการทหารเป็นต้นซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้มีปรากฏจากการศึกษาค้นคว้าไว้บ้างแล้วแต่ก็ยังคงมีช่องว่างให้ต่อเติมอยู่อีกหลายแง่มุมซึ่งหากได้มีการศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลเหล่านี้เข้าด้วยกันก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างมุสลิมกับกลุ่มชนอื่นๆในสังคมไทยด้วยเหตุนี้ศูนย์มุสลิมศึกษาสถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิจัยและวิชาการเกี่ยวกับประเด็นสำคัญต่างๆของมุสลิมอย่างรอบด้านทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศในลักษณะสหสาขาวิชาจึงได้จัดการสัมมนาทางวิชาการมุสลิมศึกษาประจำปี ๒๕๕๓ เรื่อง“มุสลิมในแผ่นดินไทย: บทบาทชาวไทยมุสลิมในการสร้างสรรค์สังคมไทยใน
ระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายนถึงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ โดยมีความมุ่งหวังเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีให้เกิดขึ้นระหว่างชาวไทยมุสลิมกับชาวไทยพุทธและชาวไทยศาสนิกอื่นๆในสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นแหล่งชุมชนชาติพันธุ์และศาสนาต่างๆที่มีศิลปวัฒนธรรมอันโดดเด่นและเจริญรุ่งเรืองมานับแต่อดีตได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความรู้สึกความเข้าใจที่ดีต่อกันรวมทั้งให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในท่ามกลางความหลากหลายทางชาติพันธุ์และศาสนาและที่สำคัญจะมีส่วนช่วยให้เกิดพลังสมัครสมานสามัคคีและการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและยั่งยืนในสังคมไทยต่อไปวัตถุประสงค์๑ เพื่อป้องปรามการขยายทัศนคติที่ไม่สร้างสรรค์ระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม๒ เพื่อสร้างสมองค์ความรู้ภูมิปัญญาและข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่าเกี่ยวกับสังคมมุสลิมในแผ่นดินไทยให้เป็นระบบและมีมิติที่ลุ่มลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น๓ เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมบนพื้นฐานการยอมรับความแตกต่างและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน๔ เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาของมุสลิมไทยสู่สังคมไทยและสังคมโลกอย่างเป็นรูปธรรมแนวทางการดำเนินงานการจัดสัมมนาทางวิชาการมุสลิมศึกษาประจำปี ๒๕๕๓ เรื่อง“มุสลิมในแผ่นดินไทย: บทบาทชาวไทยมุสลิมในการสร้างสรรค์สังคมไทย” มีแนวทางการดำเนินงานที่แบ่งเป็น ๔ ภาคดังต่อไปนี้
๑ ภาคการสัมมนาแบ่งออกเป็นการนำเสนอผลงานและเสวนาทางวิชาการเกี่ยวกับมุสลิมในหลากหลายมิติและประเด็นปัญหาที่น่าสนใจทั้งในอดีตปัจจุบันและอนาคตซึ่งมีทั้งภาคภาษาไทยและภาคภาษาอังกฤษ
๒ ภาคนิทรรศการเป็นการถ่ายทอดผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับมุสลิมในแผ่นดินไทยในรูปแบบนิทรรศการโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์แหล่งเรียนรู้ชุมชนมุสลิมในกรุงเทพมหานครและมุสลิมกับเศรษฐกิจโลกร่วมสมัย
๓ ภาคการออกร้านและซุ้มผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับมุสลิมไทยเป็นการนำเสนอและเผยแพร่อาหารและสินค้าต่างๆเกี่ยวกับมุสลิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารของหวานและเครื่องดื่มของมุสลิมไทยตามกลุ่มชาติพันธุ์และพื้นที่ภาคต่างๆในประเทศไทยผ่านการออกร้านนอกจากนี้ยังจะมีการถ่ายทอดผ่านวีดีทัศน์ในห้องประชุมสัมมนาเพื่อแนะนำประวัติความเป็นมาและผู้เกี่ยวข้องกับอาหารของหวานและเครื่องดื่มดังกล่าวซึ่งไม่ค่อยเป็นที่รู้จักแพร่หลายและนับวันจะหารับประทานได้ยากในสังคมไทยรวมทั้งยังเป็นการจัดซุ้มแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นานาชนิดที่เกี่ยวข้องกับมุสลิมไทยทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
๔ ภาคกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นรูปแบบการดำเนินการที่พัฒนาให้เหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้สู่ชุมชนตามรูปแบบของการเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงนำงานวิชาการมาประยุกต์กระตุ้นเตือนให้เกิดและสอดแทรกเข้ากับวิถีชีวิตของคนไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอภูมิปัญญาและวัฒนธรรมมุสลิมบนเวทีในรูปการแสดงต่างๆเช่นการแสดงปันจักสีลัตการแสดงลิเกเรียบเป็นต้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
๑ ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีและเสริมสร้างสัมพันธภาพที่แนบแน่นระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม
๒ เกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากภูมิปัญญาที่ถูกต้องดีงามในด้านวัฒนธรรมระหว่างชาวไทยพุทธชาวไทยมุสลิมและชาวไทยศาสนิกอื่นๆ
๓ เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมุสลิมในแผ่นดินไทยอย่างครอบคลุมทั้งในบริบทประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์สังคมและวัฒนธรรมรวมทั้งในบริบทมุสลิมไทยร่วมสมัยในเวทีเศรษฐกิจโลกและแนวทางการสืบสานศิลปวัฒนธรรมของมุสลิมในแผ่นดินไทย๔ ส่งเสริมให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมไทยตลอดจนความเข้าใจอันดีและความสงบสุขอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ระยะเวลาในการจัดงาน ๔ วันตั้งแต่วันที่ ๒๙ กันยายนถึงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ เวลา ๐๘.๐๐- ๑๗.๓๐ น

สถานที่

ณหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลุ่มเป้าหมายประมาณ1,000 คนประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒินักการทูตนักวิชาการและเจ้าหน้าที่จากภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องรวมทั้งนิสิตนักศึกษานักเรียนตลอดจนประชาชนทั่วไปที่สนใจทั้งชาวไทยพุทธชาวไทยมุสลิมชาวไทยศาสนิกอื่นๆหน่วยงานรับผิดชอบ- ศูนย์มุสลิมศึกษาสถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย- ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย- สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช)

หน่วยงานสนับสนุน

- กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย- มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์(Rockefeller Foundation)

- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว)

- มูลนิธิเจมส์เอชดับเบิ้ลยูทอมป์สัน(James H.W. Thompson Foundation)