ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันที่ ๒๙ กันยายนถึงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ เวลา ๐๘.๐๐- ๑๗.๓๐ น ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข้อเสนอโครงการสัมมนาทางวิชาการมุสลิมศึกษา ประจำปี ๒๕๕๓

“มุสลิมในแผ่นดินไทย บทบาทชาวไทยมุสลิมในการสร้างสรรค์สังคมไทย”

จัดโดย

ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ร่วมกับ

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

สนับสนุนโดย

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

มูลนิธิร็อกกี้ เฟลเลอร์

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และมูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน

วันพุธที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ - วันเสาร์ที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓

ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

***************************************************

หลักการและเหตุผล

ด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดการ

สัมมนาทางวิชาการมุสลิมศึกษา ประจำปี ๒๕๕๓ เรื่อง “มุสลิมในแผ่นดินไทย: บทบาทชาวไทยมุสลิมในการสร้างสรรค์สังคมไทย” ในวันพุธที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐ น ณหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งนี้การสัมมนาทางวิชาการมุสลิมศึกษาดังกล่าวได้ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิหลังบรรพบุรุษของผู้คนในแผ่นดินไทยที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และศาสนาซึ่งมีทั้งที่เป็นจีนมอญอาหรับเปอร์เซียและมลายูเป็นต้นนับถือศาสนาพุทธอิสลามและคริสต์กลุ่มชนเหล่านี้ได้มีบทบาทในแผ่นดินไทยอย่างกว้างขวางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและยังคงจะมีต่อไปในอนาคตด้วยดังนั้นการเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของกลุ่มชนเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญและควรทำการร้อยเรียงจัดระบบข้อมูลให้เกิดเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำมาสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันในส่วนของมุสลิมที่เป็นกลุ่มพลเมืองไทยที่นับถือศาสนาอิสลามและมีเชื้อสายมาจากหลากหลายชาติพันธุ์นั้นบางกลุ่มก็เป็นคนท้องถิ่นเดิมแต่บางกลุ่มก็เข้ามาและตั้งถิ่นฐานอยู่ในภูมิภาคต่างๆของแผ่นดินไทยมาเนิ่นนานมุสลิมหลากหลายชาติพันธุ์เหล่านี้ต่างดำเนินชีวิตมีบทบาทและทำคุณประโยชน์ให้กับแผ่นดินไทยในรูปแบบต่างๆทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองและการทหารเป็นต้นซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้มีปรากฏจากการศึกษาค้นคว้าไว้บ้างแล้วแต่ก็ยังคงมีช่องว่างให้ต่อเติมอยู่อีกหลายแง่มุมซึ่งหากได้มีการศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลเหล่านี้เข้าด้วยกันก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างมุสลิมกับกลุ่มชนอื่นๆในสังคมไทยด้วยเหตุนี้ศูนย์มุสลิมศึกษาสถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิจัยและวิชาการเกี่ยวกับประเด็นสำคัญต่างๆของมุสลิมอย่างรอบด้านทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศในลักษณะสหสาขาวิชาจึงได้จัดการสัมมนาทางวิชาการมุสลิมศึกษาประจำปี ๒๕๕๓ เรื่อง“มุสลิมในแผ่นดินไทย: บทบาทชาวไทยมุสลิมในการสร้างสรรค์สังคมไทยใน
ระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายนถึงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ โดยมีความมุ่งหวังเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีให้เกิดขึ้นระหว่างชาวไทยมุสลิมกับชาวไทยพุทธและชาวไทยศาสนิกอื่นๆในสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นแหล่งชุมชนชาติพันธุ์และศาสนาต่างๆที่มีศิลปวัฒนธรรมอันโดดเด่นและเจริญรุ่งเรืองมานับแต่อดีตได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความรู้สึกความเข้าใจที่ดีต่อกันรวมทั้งให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในท่ามกลางความหลากหลายทางชาติพันธุ์และศาสนาและที่สำคัญจะมีส่วนช่วยให้เกิดพลังสมัครสมานสามัคคีและการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและยั่งยืนในสังคมไทยต่อไปวัตถุประสงค์๑ เพื่อป้องปรามการขยายทัศนคติที่ไม่สร้างสรรค์ระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม๒ เพื่อสร้างสมองค์ความรู้ภูมิปัญญาและข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่าเกี่ยวกับสังคมมุสลิมในแผ่นดินไทยให้เป็นระบบและมีมิติที่ลุ่มลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น๓ เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมบนพื้นฐานการยอมรับความแตกต่างและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน๔ เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาของมุสลิมไทยสู่สังคมไทยและสังคมโลกอย่างเป็นรูปธรรมแนวทางการดำเนินงานการจัดสัมมนาทางวิชาการมุสลิมศึกษาประจำปี ๒๕๕๓ เรื่อง“มุสลิมในแผ่นดินไทย: บทบาทชาวไทยมุสลิมในการสร้างสรรค์สังคมไทย” มีแนวทางการดำเนินงานที่แบ่งเป็น ๔ ภาคดังต่อไปนี้
๑ ภาคการสัมมนาแบ่งออกเป็นการนำเสนอผลงานและเสวนาทางวิชาการเกี่ยวกับมุสลิมในหลากหลายมิติและประเด็นปัญหาที่น่าสนใจทั้งในอดีตปัจจุบันและอนาคตซึ่งมีทั้งภาคภาษาไทยและภาคภาษาอังกฤษ
๒ ภาคนิทรรศการเป็นการถ่ายทอดผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับมุสลิมในแผ่นดินไทยในรูปแบบนิทรรศการโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์แหล่งเรียนรู้ชุมชนมุสลิมในกรุงเทพมหานครและมุสลิมกับเศรษฐกิจโลกร่วมสมัย
๓ ภาคการออกร้านและซุ้มผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับมุสลิมไทยเป็นการนำเสนอและเผยแพร่อาหารและสินค้าต่างๆเกี่ยวกับมุสลิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารของหวานและเครื่องดื่มของมุสลิมไทยตามกลุ่มชาติพันธุ์และพื้นที่ภาคต่างๆในประเทศไทยผ่านการออกร้านนอกจากนี้ยังจะมีการถ่ายทอดผ่านวีดีทัศน์ในห้องประชุมสัมมนาเพื่อแนะนำประวัติความเป็นมาและผู้เกี่ยวข้องกับอาหารของหวานและเครื่องดื่มดังกล่าวซึ่งไม่ค่อยเป็นที่รู้จักแพร่หลายและนับวันจะหารับประทานได้ยากในสังคมไทยรวมทั้งยังเป็นการจัดซุ้มแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นานาชนิดที่เกี่ยวข้องกับมุสลิมไทยทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
๔ ภาคกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นรูปแบบการดำเนินการที่พัฒนาให้เหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้สู่ชุมชนตามรูปแบบของการเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงนำงานวิชาการมาประยุกต์กระตุ้นเตือนให้เกิดและสอดแทรกเข้ากับวิถีชีวิตของคนไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอภูมิปัญญาและวัฒนธรรมมุสลิมบนเวทีในรูปการแสดงต่างๆเช่นการแสดงปันจักสีลัตการแสดงลิเกเรียบเป็นต้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
๑ ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีและเสริมสร้างสัมพันธภาพที่แนบแน่นระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม
๒ เกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากภูมิปัญญาที่ถูกต้องดีงามในด้านวัฒนธรรมระหว่างชาวไทยพุทธชาวไทยมุสลิมและชาวไทยศาสนิกอื่นๆ
๓ เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมุสลิมในแผ่นดินไทยอย่างครอบคลุมทั้งในบริบทประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์สังคมและวัฒนธรรมรวมทั้งในบริบทมุสลิมไทยร่วมสมัยในเวทีเศรษฐกิจโลกและแนวทางการสืบสานศิลปวัฒนธรรมของมุสลิมในแผ่นดินไทย๔ ส่งเสริมให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมไทยตลอดจนความเข้าใจอันดีและความสงบสุขอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ระยะเวลาในการจัดงาน ๔ วันตั้งแต่วันที่ ๒๙ กันยายนถึงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ เวลา ๐๘.๐๐- ๑๗.๓๐ น

สถานที่

ณหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลุ่มเป้าหมายประมาณ1,000 คนประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒินักการทูตนักวิชาการและเจ้าหน้าที่จากภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องรวมทั้งนิสิตนักศึกษานักเรียนตลอดจนประชาชนทั่วไปที่สนใจทั้งชาวไทยพุทธชาวไทยมุสลิมชาวไทยศาสนิกอื่นๆหน่วยงานรับผิดชอบ- ศูนย์มุสลิมศึกษาสถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย- ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย- สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช)

หน่วยงานสนับสนุน

- กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย- มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์(Rockefeller Foundation)

- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว)

- มูลนิธิเจมส์เอชดับเบิ้ลยูทอมป์สัน(James H.W. Thompson Foundation)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น