ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 - 15.00 น. ชุมชนป้อมมหากาฬ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ พระนคร กรุงเทพฯ

Peter Sri มีเฌอเ็็ป็นลูกรัก ชุมชน ป้อมมหากาฬเป็นชุมชนโบราณเล็กๆ ตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 อยู่หลังกำแพงป้อมมหากาฬ มุมถนนราชดำเนิน เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ปัจจุบันเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่กำลังเผชิญกับการไล่รื้อจากทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อนำพื้นที่ไปจัดสร้างเป็นสวนสาธารณะ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับแผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์

ชาวบ้านได้คัดค้า...นการรื้อย้ายชุมชนออกไปและได้เสนอทางออกที่จะ ประนีประนอมกับทางกรุงเทพมหานคร โดยเสนอขอใช้พื้นที่ร่วมกับโครงการ (Land sharing) เป็นจำนวน 1 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 4 ไร่เศษ เพื่อใช้พักอาศัย โดยที่ชาวบ้านได้เสนอว่าจะอนุรักษ์รักษาบ้านเรือนโบราณที่มีคุณค่าภายในพื้นที่ ตลอดจนรักษาวิถีชีวิตชุมชนไปพร้อมๆกับการเข้าไปดูแลรักษาสวนสาธารณะที่ทางกรุงเทพมหานครจะจัดสร้างขึ้นด้วย

แต่ข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้รับการตอบสนอง นอกจากนี้กรุงเทพมหานครยังได้อ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่สามารถจะสั่งการให้คนที่อยู่บริเวณนั้นย้ายออกไปได้ตามกฎหมาย ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเจรจาต่อรองกับชาวบ้านเพราะกรุงเทพมหานครมีสถานะอำนาจเหนือกว่า ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับกับชาวบ้านที่อยู่อาศัยในป้อมมหากาฬเป็นปัญหาความขัดแย้งที่บานปลายจนไม่สามารถที่จะตกลงกันได้

ย้อนอดีตกลับไป ชุมชนป้อมมหากาฬชานพระนครแห่งนี้เป็นแหล่งถิ่นฐานงานศิลป์ที่สำคัญ เช่น เป็นต้นกำเนิดคณะลิเกชื่อดังของพระยาเพ็ชรปาณี ซึ่งถือเป็นคณะลิเกยุคแรกๆ ของพระนคร โดยปลูกเพิงเปิดวิก เก็บค่าดูครั้งละ ๕ สตางค์ เป็นถิ่นของช่างทำเครื่องดนตรีไทยที่มีฝีมือมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 แม้ว่างานฝีมือเก่าแก่บางอย่างอาจขาดความต่อเนื่อง หรือต้องเลิกราไป แต่ชุมชนป้อมมหากาฬก็ไม่เคยขาดแคลนงานหัตถกรรมฝีมือชั้นครู

ไม่ ว่าจะเป็น กรงนกเขาและกรงนกปรอดหัวจุก ประดิษฐ์ด้วยฝีมือประณีต จากวัสดุธรรมชาติจำพวกไม้ไผ่ ไม้สัก และหวาย ช่างเครื่องปั้นดินเผา สร้างสรรค์เป็นรูปฤๅษีดัดตน ฤๅษีเดินดง เศียรพ่อแก่ ส่งขายตามวัดต่างๆ มีบ้านไม้โบราณของลุงโอ่ง หมอนวดแผนโบราณฝีมือเยี่ยม กระทั่งกระเพาะปลาเลิศรสที่ใครก็ต้องถามหา ฯลฯ

และเพื่อให้ได้มาซึ่งความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและสิทธิชุมชน จึงเกิดเป็นกระบวนการต่อสู้และเรียกร้องของชาวชุมชนป้อมมหากาฬด้วยการพร้อมใจที่จะพัฒนาเป็นชุมชนตัวอย่างที่อยู่คู่สวนสาธารณะ พัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว จำหน่ายสินค้าชุมชน มีการแสดงศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาที่เน้นการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทั้งของชาวไทยและชาวต่างชาติ ด้วยการเปิดตลาดนัดชุมชนจำหน่ายสินค้าศิลปหัตถกรรม อาหาร และบริการ เช่น กรงนกปรอดหัวจุก เศียรพ่อแก่ นวดแผนไทย ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากฝีมือกลุ่มแม่บ้าน กระเพาะปลาเลื่องชื่อ ผัดไทยห่อไข่ใบบัว กล้วยเชื่อม สาคูไส้หมู น้ำแข็งไส กาแฟโบราณ ฯลฯ ตั้งแต่สายๆ จนถึงบ่ายคล้อยของทุกวันเสาร์ (อย่าไปหลังบ่ายสามนะตลาดวายแล้ว เหลือแต่วงหมากรุก)

แม้ว่าสภาพปัจจุบันภายในชุมชนป้อมมหากาฬอาจดูไม่ค่อยเป็นระเบียบเรียบร้อยเท่าใดนัก หากแต่ชุมชนชานกำแพงพระนครแห่งนี้ก็ถือเป็นรากเหง้าหนึ่งที่มีตำนานเล่าขานถึงประวัติความเป็นมาอันยาวนาน อีกทั้งบ้านโบราณแต่ละหลังในชุมชนที่มีอายุนับร้อยปี ก็ถือเป็นงานสถาปัตยกรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ชานกำแพงพระนครซึ่งเหลืออยู่เป็นแหล่งสุดท้าย เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต และเท่ากับเป็นการรักษาวิถีชีวิตชุมชนป้อมมหากาฬที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป

วัน เวลา สถานที่
ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 15.00 น.
ชุมชนป้อมมหากาฬ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ พระนคร กรุงเทพฯ

ข้อมูลบางส่วนเรียบเรียงจาก ชุมชนป้อมมหากาฬ "อดีต" ที่กำลังจะไร้อนาคต เรื่องโดย ปราณี กล่ำส้ม
http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=51






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น